หุ้นสื่อสาร"บุญมีแต่กรรมบัง"แผนประมูล 3G ส่อล่มก่อนที่จะถึงฝั่ง หลัง"มาร์ค"ทำตัวเป็นนายละเอียด แต่เพิ่งจะตื่น!สั่งหารือกฤษฎีการตีความอำนาจกทช.ออกใบอนุญาต 3G ได้หรือไม่ ทั้งที่ขั้นตอนประชาพิจารณ์ผ่านมาเป็นปีแล้ว ฝากบอร์ดกทช.ไร้ปากเสียง ก้มหน้าทำตามใจรัฐบาล ส่งสัญญาณร้ายเลื่อนประมูลแบบไร้กำหนด
แหล่งข่าวจากวงการโบรกเกอร์ กล่าวกับ"ข่าวหุ้นธุรกิจ"ว่า น่าเป็นห่วงถึงสถานการณ์หุ้นกลุ่มสื่อสารและหุ้นไอทีที่เกี่ยวข้อง เพราะไร้ความชัดเจน เรื่องการประมูล 3Gมากยิ่งขึ้น หลังล่าสุดครม.เศรษฐกิจ มีมติให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทช.)หารือข้อกฎหมายกับสำนักงานกฤษฎีกาเกี่ยวกับอำนาจกทช.กรณีการออกใบนุญาต 3G ดังกล่าว
ขณะเดียวกันยังมีแนวโน้มว่าการทำประชาพิจารณ์ 3G ไม่น่าจะดำเนินการตามกำหนดที่กทช.กำนดไว้(12พ.ย.) เพราะตราบใดที่สำนักงานกฤษฎีกา ยังไม่ตอบกลับเรื่องอำนาจกทช. เชื่อว่าการทำประชาพิจารณ์ จะเกิดปัญหามากขึ้นไปอีก เพราะอาจมีหลายฝ่ายสบจังหวะใช้เรื่องนี้มากดดันให้ต้องเลื่อนประมูล 3G ออกไปแบบไม่รู้กำหนดได้
ทั้งนี้หุ้นที่จะได้รับผลกระทบโดยตรง คือ หุ้นกลุ่มสื่อสาร เริ่มจากบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือ ADVANC บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเกชั่นจำกัด(มหาชน)หรือ DTAC และบริษัท ทรู คอปอร์เรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ TRUE ที่มีแผนยื่นประมูลใบอนุญาต 3G อยู่แล้ว
นอกจากนี้ยังมีหุ้นไอทีที่เกี่ยวของทางอ้อมอีกหลายบริษัท อาทิบริษัท แอดวานซ์ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด(มหาชน)หรือ AIT บริษัท ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)หรือ FORTH บริษัท จัสมิน เทเลคอม ซิสเต็มส์ จำกัด(มหาชน)หรือ JTS บริษัทอินเตอร์ลิงค์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด(มหาชน) หรือ ILINK บริษัท สามารถเทเลคม จำกัด(มหาชน) หรือ SAMTEL บริษัท เอสไอเอส ดิสทิบิวชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SISเป็นต้น
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานได้หารือกันเกี่ยวกับการออกใบอนุญาต 3G โดยนายกรัฐมนตรี ได้สอบถามเกี่ยวกับความคืบหน้าในการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)
พร้อมกันนี้ยังมอบหมายให้ตัวแทนคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.)ไปพิจารณาความชัดเจนของข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจของกทช.ในการออกใบอนุญาต 3Gนอกจากนี้นายกรัฐมนตรี ยังเสนอแนะให้กทช.หารือข้อกฎหมายกับทางสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หากมีข้อขัดข้องรัฐบาลก็จะเชิญกฤษฎีกาเข้ามาชี้แจงต่อที่ประชุมครม.เศรษฐกิจต่อไป
นายกอร์ปศักดิ์ กล่าวว่า ที่ประชุมได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการแจ้งความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการให้กทช.ประเด็นเงื่อนไขที่ชัดเจนในกรณีการเข้าประมูลของผู้ประกอบการที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับบมจ.ทีโอที และบมจ.กสท โทรคมนาคม และการดำเนินการเกี่ยวกับสัญญาสัมปทานเดิมเพื่อให้กทช.พิจารณาประกอบการทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความเห็น
รวมทั้งมีข้อสังเกตในประเด็นข้อกฎหมายที่กทช.อาจพิจารณาหารือกับคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับสถานะและอำนาจหน้าที่ของกทช.และกสทช. ตามรัฐธรมนูญและประเด็นการประมูลคลื่นความถี่ และการให้ใบอนุญาต 3G จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานฯ พ.ศ.2535 หรือไม่
อีกทั้งมอบหมายให้กระทรวงการคลังและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร(ไอซีที)รับไปพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาสัญญาสัมปทานระหว่างภาคเอกชนกับทีโอทีและกสท. ให้ถูกต้องตามขั้นตอนของพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานฯตามความเห็นชอบของคณะกรรมการกฤษฎีกา และแนวทางการแปรสัญญาสัมปทาน ให้สอดคล้อง กับแผนแม่บทการพัฒนาเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารที่คณะรัฐมนตรี ได้ให้ความเห็นชอบแล้วและนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงของการลงทุนพัฒนาโครงข่าย3G ของกระทรวงไอซีทีที่ประชุมเห็นสมควรให้ไอซีทีควรรอความชัดเจนทั้งในเรื่องข้อกฎหมายและเงื่อนไขของการเปิดประมูลของกทช.ที่ชัดเจนก่อนทีโอทีจะดำเนินการลงทุนทั้งนี้หากเงื่อนไขการประมูลใบอนุญาต 3G ของกทช. มีผลกระทบต่อโครงการลงทุนพัฒนาโครงข่าย 3Gของทีโอทีอย่างมีนัยสำคัญต่อผลตอบแทนทางการเงินของโครงการและหากทีโอทีมีความจำเป็นต้องปรับแผนธุรกิจที่แตกต่งจากเงื่อนไขเดิมที่คณะรัฐมนตรีเคยให้ความเห็นไว้เมื่อปี51ทีโอทีต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตก่อนมีการลงทุนต่อไป
นอกจากนี้ประเด็นข้อกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรใหม่กสทช. ที่จะต้องตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญปี 50 ขณะนี้กฎหมายจัดตั้งองค์กรดังกล่าว อยู่ในกระบวนการพิจารณานั้นกทช.จะสามารถออกใบอนุญาต 3G ได้ขณะนี้หรือไม่ หากต้องรอให้จัดตั้งกสทช. แล้วเสร็จอาจส่งผลให้การออกใบอนุญาต 3G ต้องล่าช้าออกไปส่วนประเด็นการกำหนดเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่ 3G ชัดเจนนั้น ขณะนี้กทช.อยู่ระหว่างการนำประเด็นข้อห่วงใยที่คณะกรรมการฯให้ไว้ไปทำการรับฟังความคิดเห็นกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
คณะกรรมการฯยังเห็นว่ากทช.ควรพิจารณากำหนดเงื่อนไข ที่ชัดเจนเรื่องของการเข้าประมูลของผู้ประกอบการ ที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับบมจ.ทีโอที และบมจ.กสท โทรคมนาคม เช่น หากผู้ประกอบการที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานจะเข้าประมูลใบอนุญาตดังกล่าว คู่สัญญาภาคเอกชนต้องดำเนินการแปรสัญญาสัมปทานให้เรียบร้อยก่อนการเข้าประมูลใบอนุญาตจะทำให้ปัญหาการประกอบธุรกิจโทรคมนาคมช่วงเปลี่ยนผ่านจากระบบสัญญา สัมปทานไปสู่การออกใบอนุญาต และจะช่วยลดปัญหาการโอนฐานลูกค้าและปัญหาการใช้ทรัพย์สินที่ได้รับโอนจากสัญญาสัมปทานเป็นต้น
นอกจากนี้ขอให้กทช.พิจารณารับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในประเด็นมูลค่าใบอนุญาต 3G เมื่อเปรียบเทียบกับสัญญาสัมปทานเดิมด้วยทั้งนี้กทช.ได้ให้ข้อมูลว่าเงื่อนไขการให้ใบอนุญาต 3G จะมีความชัดเจน ภายใน 1 สัปดาห์ หลังจากการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยคาดว่าจะมีความชัดเจนเดือนธ.ค.52
นายประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)กล่าวว่า ผลการประชุมคณะกรรมการกทช.วานนี้(4พ.ย.) เห็นชอบตามมติครม.เศรษฐกิจที่เสนอให้มีการตีความอำนาจและหน้าที่ของกทช. ในการออกใบอนุญาต 3G โดยกทช.จะยื่นให้คณะกรรมการกฤษฎีกาในสัปดาห์หน้า
รวมทั้งมีมติเสนอให้เพิ่มเนื้อหาการทำประชาพิจารณ์รอบ 2 ที่สำคัญ 3 เรื่องได้แก่การไม่ให้โอนย้านฐานลูกค้าจาก 2G ไป 3G และการใช้โครงข่ายร่วมกันรวมถึงการที่ไม่ให้คู่สัญญาร่วมการงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประมูลใบอนุญาต 3G
"ผู้ที่มีสัญญาสัมปทานเดิม จะไม่สามารถร่วมประมูลได้ เป็นข้อเสนอที่เกิดจากความเป็นห่วงของกระทรวงการคลัง และกระทรวงไอซีที เพราะส่งผลกระทบต่อการหารายได้ของรัฐวิสาหกิจ"นายประเสริฐกล่าว
อย่างไรก็ตามการที่จะเปิดประมูลเมื่อไรนั้น กทช.ยังไม่สามารถกำหนดกรอบเวลาได้ ขึ้นอยู่กับการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกา รวมทั้งการทำประชาพิจารณ์จะเกิดขึ้นทั้งนี้คาดว่าคณะกรรมการกฤษฎีกาจะต้องให้เวลาการพิจารณา และถือเป็นการรับฟังความคิดเห็นของฝ่ายรัฐบาล กทช.ได้มีการดำเนินการตามที่ทุกฝ่ายแสดงความคิดเห็น และร้องขอมา
ส่วนการที่ครม.เศรษฐกิจ ให้กระทรวงไอซีที เสนอแนวทางแปรสัญญาสัมปทานภายใน 2 สัปดาห์นี้ รวมทั้งให้ทีโอทีรอความชัดเจนเรื่องการประมูล 3G จึงจะลงทุนได้ เป็นเรื่องที่กระทรวงไอซีทีต้องดำเนินการเองไม่เกี่ยวข้องกับกทช.
อนึ่งกทช.ได้กำหนดการทำประชาพิจารณ์รอบ 2 วันที่ 12 พ.ย.นี้โดยมีประเด็นอยู่9 หัวข้อ ได้เพิ่มเติมเรื่องการกำหนดมูลค่าขั้นต้น และราคาเริ่มต้นการประมูลที่ 4.6 พันล้านบาท สำหรับ 10 MHz และ 5.2 พันล้านบาท สำหรับ 15 MHz รวมทั้งการกำหนดเงื่อนไขการโอนลูกค้าระหว่าง 2G และ 3G
นายวรุธ สุวกร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน)เปิดเผยกรณีมติครม.เศรษฐกิจ ให้ชะลอขั้นตอนการดำเนินโครงการ 3G ที่ภาคเอกชนมีส่วนเกี่ยวข้องขณะนี้โครงการ 3G มี 2 องค์กรที่กำลังดำเนินการอยู่ คือกทช.และทีโอที เนื่องจากยังมีข้อโต้แย้งและข้อคัดค้านหลายเรื่อง
โดยกรณีนี้การดำเนินโครงการ 3G ของทีโอทีไม่เกี่ยวกับการดำเนินโครงการคลื่น3G ใหม่ของกทช. เพราะคลื่นความถี่เป็นคนละสัมปทานกัน ซึ่งทีโอทีได้รับสัมปทานคลื่นดังกล่าวมาก่อนหน้านี้
แหล่งข่าวจากวงการโบรกเกอร์ กล่าวกับ"ข่าวหุ้นธุรกิจ"ว่า น่าเป็นห่วงถึงสถานการณ์หุ้นกลุ่มสื่อสารและหุ้นไอทีที่เกี่ยวข้อง เพราะไร้ความชัดเจน เรื่องการประมูล 3Gมากยิ่งขึ้น หลังล่าสุดครม.เศรษฐกิจ มีมติให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทช.)หารือข้อกฎหมายกับสำนักงานกฤษฎีกาเกี่ยวกับอำนาจกทช.กรณีการออกใบนุญาต 3G ดังกล่าว
ขณะเดียวกันยังมีแนวโน้มว่าการทำประชาพิจารณ์ 3G ไม่น่าจะดำเนินการตามกำหนดที่กทช.กำนดไว้(12พ.ย.) เพราะตราบใดที่สำนักงานกฤษฎีกา ยังไม่ตอบกลับเรื่องอำนาจกทช. เชื่อว่าการทำประชาพิจารณ์ จะเกิดปัญหามากขึ้นไปอีก เพราะอาจมีหลายฝ่ายสบจังหวะใช้เรื่องนี้มากดดันให้ต้องเลื่อนประมูล 3G ออกไปแบบไม่รู้กำหนดได้
ทั้งนี้หุ้นที่จะได้รับผลกระทบโดยตรง คือ หุ้นกลุ่มสื่อสาร เริ่มจากบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือ ADVANC บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเกชั่นจำกัด(มหาชน)หรือ DTAC และบริษัท ทรู คอปอร์เรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ TRUE ที่มีแผนยื่นประมูลใบอนุญาต 3G อยู่แล้ว
นอกจากนี้ยังมีหุ้นไอทีที่เกี่ยวของทางอ้อมอีกหลายบริษัท อาทิบริษัท แอดวานซ์ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด(มหาชน)หรือ AIT บริษัท ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)หรือ FORTH บริษัท จัสมิน เทเลคอม ซิสเต็มส์ จำกัด(มหาชน)หรือ JTS บริษัทอินเตอร์ลิงค์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด(มหาชน) หรือ ILINK บริษัท สามารถเทเลคม จำกัด(มหาชน) หรือ SAMTEL บริษัท เอสไอเอส ดิสทิบิวชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SISเป็นต้น
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานได้หารือกันเกี่ยวกับการออกใบอนุญาต 3G โดยนายกรัฐมนตรี ได้สอบถามเกี่ยวกับความคืบหน้าในการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)
พร้อมกันนี้ยังมอบหมายให้ตัวแทนคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.)ไปพิจารณาความชัดเจนของข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจของกทช.ในการออกใบอนุญาต 3Gนอกจากนี้นายกรัฐมนตรี ยังเสนอแนะให้กทช.หารือข้อกฎหมายกับทางสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หากมีข้อขัดข้องรัฐบาลก็จะเชิญกฤษฎีกาเข้ามาชี้แจงต่อที่ประชุมครม.เศรษฐกิจต่อไป
นายกอร์ปศักดิ์ กล่าวว่า ที่ประชุมได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการแจ้งความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการให้กทช.ประเด็นเงื่อนไขที่ชัดเจนในกรณีการเข้าประมูลของผู้ประกอบการที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับบมจ.ทีโอที และบมจ.กสท โทรคมนาคม และการดำเนินการเกี่ยวกับสัญญาสัมปทานเดิมเพื่อให้กทช.พิจารณาประกอบการทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความเห็น
รวมทั้งมีข้อสังเกตในประเด็นข้อกฎหมายที่กทช.อาจพิจารณาหารือกับคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับสถานะและอำนาจหน้าที่ของกทช.และกสทช. ตามรัฐธรมนูญและประเด็นการประมูลคลื่นความถี่ และการให้ใบอนุญาต 3G จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานฯ พ.ศ.2535 หรือไม่
อีกทั้งมอบหมายให้กระทรวงการคลังและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร(ไอซีที)รับไปพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาสัญญาสัมปทานระหว่างภาคเอกชนกับทีโอทีและกสท. ให้ถูกต้องตามขั้นตอนของพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานฯตามความเห็นชอบของคณะกรรมการกฤษฎีกา และแนวทางการแปรสัญญาสัมปทาน ให้สอดคล้อง กับแผนแม่บทการพัฒนาเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารที่คณะรัฐมนตรี ได้ให้ความเห็นชอบแล้วและนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงของการลงทุนพัฒนาโครงข่าย3G ของกระทรวงไอซีทีที่ประชุมเห็นสมควรให้ไอซีทีควรรอความชัดเจนทั้งในเรื่องข้อกฎหมายและเงื่อนไขของการเปิดประมูลของกทช.ที่ชัดเจนก่อนทีโอทีจะดำเนินการลงทุนทั้งนี้หากเงื่อนไขการประมูลใบอนุญาต 3G ของกทช. มีผลกระทบต่อโครงการลงทุนพัฒนาโครงข่าย 3Gของทีโอทีอย่างมีนัยสำคัญต่อผลตอบแทนทางการเงินของโครงการและหากทีโอทีมีความจำเป็นต้องปรับแผนธุรกิจที่แตกต่งจากเงื่อนไขเดิมที่คณะรัฐมนตรีเคยให้ความเห็นไว้เมื่อปี51ทีโอทีต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตก่อนมีการลงทุนต่อไป
นอกจากนี้ประเด็นข้อกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรใหม่กสทช. ที่จะต้องตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญปี 50 ขณะนี้กฎหมายจัดตั้งองค์กรดังกล่าว อยู่ในกระบวนการพิจารณานั้นกทช.จะสามารถออกใบอนุญาต 3G ได้ขณะนี้หรือไม่ หากต้องรอให้จัดตั้งกสทช. แล้วเสร็จอาจส่งผลให้การออกใบอนุญาต 3G ต้องล่าช้าออกไปส่วนประเด็นการกำหนดเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่ 3G ชัดเจนนั้น ขณะนี้กทช.อยู่ระหว่างการนำประเด็นข้อห่วงใยที่คณะกรรมการฯให้ไว้ไปทำการรับฟังความคิดเห็นกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
คณะกรรมการฯยังเห็นว่ากทช.ควรพิจารณากำหนดเงื่อนไข ที่ชัดเจนเรื่องของการเข้าประมูลของผู้ประกอบการ ที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับบมจ.ทีโอที และบมจ.กสท โทรคมนาคม เช่น หากผู้ประกอบการที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานจะเข้าประมูลใบอนุญาตดังกล่าว คู่สัญญาภาคเอกชนต้องดำเนินการแปรสัญญาสัมปทานให้เรียบร้อยก่อนการเข้าประมูลใบอนุญาตจะทำให้ปัญหาการประกอบธุรกิจโทรคมนาคมช่วงเปลี่ยนผ่านจากระบบสัญญา สัมปทานไปสู่การออกใบอนุญาต และจะช่วยลดปัญหาการโอนฐานลูกค้าและปัญหาการใช้ทรัพย์สินที่ได้รับโอนจากสัญญาสัมปทานเป็นต้น
นอกจากนี้ขอให้กทช.พิจารณารับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในประเด็นมูลค่าใบอนุญาต 3G เมื่อเปรียบเทียบกับสัญญาสัมปทานเดิมด้วยทั้งนี้กทช.ได้ให้ข้อมูลว่าเงื่อนไขการให้ใบอนุญาต 3G จะมีความชัดเจน ภายใน 1 สัปดาห์ หลังจากการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยคาดว่าจะมีความชัดเจนเดือนธ.ค.52
นายประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)กล่าวว่า ผลการประชุมคณะกรรมการกทช.วานนี้(4พ.ย.) เห็นชอบตามมติครม.เศรษฐกิจที่เสนอให้มีการตีความอำนาจและหน้าที่ของกทช. ในการออกใบอนุญาต 3G โดยกทช.จะยื่นให้คณะกรรมการกฤษฎีกาในสัปดาห์หน้า
รวมทั้งมีมติเสนอให้เพิ่มเนื้อหาการทำประชาพิจารณ์รอบ 2 ที่สำคัญ 3 เรื่องได้แก่การไม่ให้โอนย้านฐานลูกค้าจาก 2G ไป 3G และการใช้โครงข่ายร่วมกันรวมถึงการที่ไม่ให้คู่สัญญาร่วมการงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประมูลใบอนุญาต 3G
"ผู้ที่มีสัญญาสัมปทานเดิม จะไม่สามารถร่วมประมูลได้ เป็นข้อเสนอที่เกิดจากความเป็นห่วงของกระทรวงการคลัง และกระทรวงไอซีที เพราะส่งผลกระทบต่อการหารายได้ของรัฐวิสาหกิจ"นายประเสริฐกล่าว
อย่างไรก็ตามการที่จะเปิดประมูลเมื่อไรนั้น กทช.ยังไม่สามารถกำหนดกรอบเวลาได้ ขึ้นอยู่กับการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกา รวมทั้งการทำประชาพิจารณ์จะเกิดขึ้นทั้งนี้คาดว่าคณะกรรมการกฤษฎีกาจะต้องให้เวลาการพิจารณา และถือเป็นการรับฟังความคิดเห็นของฝ่ายรัฐบาล กทช.ได้มีการดำเนินการตามที่ทุกฝ่ายแสดงความคิดเห็น และร้องขอมา
ส่วนการที่ครม.เศรษฐกิจ ให้กระทรวงไอซีที เสนอแนวทางแปรสัญญาสัมปทานภายใน 2 สัปดาห์นี้ รวมทั้งให้ทีโอทีรอความชัดเจนเรื่องการประมูล 3G จึงจะลงทุนได้ เป็นเรื่องที่กระทรวงไอซีทีต้องดำเนินการเองไม่เกี่ยวข้องกับกทช.
อนึ่งกทช.ได้กำหนดการทำประชาพิจารณ์รอบ 2 วันที่ 12 พ.ย.นี้โดยมีประเด็นอยู่9 หัวข้อ ได้เพิ่มเติมเรื่องการกำหนดมูลค่าขั้นต้น และราคาเริ่มต้นการประมูลที่ 4.6 พันล้านบาท สำหรับ 10 MHz และ 5.2 พันล้านบาท สำหรับ 15 MHz รวมทั้งการกำหนดเงื่อนไขการโอนลูกค้าระหว่าง 2G และ 3G
นายวรุธ สุวกร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน)เปิดเผยกรณีมติครม.เศรษฐกิจ ให้ชะลอขั้นตอนการดำเนินโครงการ 3G ที่ภาคเอกชนมีส่วนเกี่ยวข้องขณะนี้โครงการ 3G มี 2 องค์กรที่กำลังดำเนินการอยู่ คือกทช.และทีโอที เนื่องจากยังมีข้อโต้แย้งและข้อคัดค้านหลายเรื่อง
โดยกรณีนี้การดำเนินโครงการ 3G ของทีโอทีไม่เกี่ยวกับการดำเนินโครงการคลื่น3G ใหม่ของกทช. เพราะคลื่นความถี่เป็นคนละสัมปทานกัน ซึ่งทีโอทีได้รับสัมปทานคลื่นดังกล่าวมาก่อนหน้านี้
ที่มา http://www.kaohoon.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น