รูปแบบพร้อมตัวอย่างปริญญานิพนธ์
ในการพิมพ์ส่วนปกในภาษาไทย ปกในภาษาอังกฤษ กิตติกรรมประกาศ สารบัญ สารบัญรูปและสารบัญตารางให้ใส่เลขหน้าเป็นเลขโรมัน คือ หน้าที่ I, II, III, … ถ้าสารบัญ สารบัญรูปและสารบัญตาราง ไม่สามารถใส่ได้ในหนึ่งหน้าจะต้องมีการต่อไปยังหน้าที่สองหรือมากกว่าในแต่ละหน้าจะต้องขึ้นต้นด้วย สารบัญ(ต่อ) หรือ สารบัญรูป(ต่อ) หรือ สารบัญตาราง(ต่อ) และ ใช้ Font Angsana NEWหรือ UPC ขนาด 18 pt ตัวธรรมดา ยกเว้นส่วนหัวของหน้า(เช่น สารบัญ กิตติกรรมประกาศ)ให้ใช้ font Angsana NEWหรือ UPC ขนาด 20 pt ตัวหนา
ในการพิมพ์ตั้งแต่บทที่ 1 ถึง บทที่ 5 ชื่อบทในแต่ละบทให้ใช้ขนาด 20 pt ตัวหนา ส่วนหัวข้อในแต่ละบทให้ใช้ขนาด 18 pt หัวข้อย่อยแรกใช้ตัวหนาชิดซ้าย (เช่น 1.1 ) หัวข้อย่อยต่อมา ( เช่น 1.1.1 ) เว้นระยะห่าง 1 Tabจากซ้าย และเนื้อหา ใช้ Font Angsana NEWหรือ UPC ขนาด 16 pt ตัวธรรมดา
กำหนดการกั้นกระดาษด้านขวา, บน, ล่าง 2.54 ซม. และด้านซ้าย 3.17 ซม.ในการพิมพ์จะต้องกั้นหลังชิดขอบขวา ใส่หมายเลขหน้าทุกหน้าด้านบนกึ่งกลางหน้า ยกเว้นหน้าแรกของแต่ละบทไม่ต้องใส่เลขหน้า
ตัวอย่างรูปแบบการทำปริญญานิพนธ์(ตัวเล่มแดง จำนวน 3 เล่ม)
(ปกแข็งและปกนอก)
เครื่องตรวจสอบความปลอดภัยทางไฟฟ้าชนิดดิจิตอล
DIGITAL-ELECTRICAL SAFETY TESTER
(ชื่อโครงงาน ฟอนต์ Angsana UPC ขนาด 20 นิ้ว ตัวหนา)
นายประพลเดช เจิมสันติกุลชัย
นายรณรงค์ สมานวงศ์
(ชื่อคณะผู้จัดทำใช้ Font Angsana NEW ขนาด 18 pt ตัวหนา โดยเรียงตามพยัญชนะ)
ปริญญานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต / อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสยาม
ปีการศึกษา (ปีที่นักศึกษาสอบปริญญานิพนธ์)
(ให้ใช้ Font Angsana NEW ขนาด 18 pt ตัวหนา)
(ปกคณะกรรมการสอบ) (ฟอนต์ Angsana UPC ขนาด 18 นิ้ว ตัวธรรมดา)
เครื่องตรวจสอบความปลอดภัยทางไฟฟ้าชนิดดิจิตอล
DIGITAL-ELECTRICAL SAFETY TESTER
นายประพลเดช เจิมสันติกุลชัย
นายรณรงค์ สมานวงศ์
ปริญญานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต / อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสยาม
ปีการศึกษา (ปีที่นักศึกษาสอบปริญญานิพนธ์)
คณะกรรมการสอบปริญญานิพนธ์
…………………………………… ประธานกรรมการสอบปริญญานิพนธ์
(อาจารย์ไวยพจน์ ศุภบวรเสถียร) (หมายถึงอาจารย์ที่ปรึกษา)
…………………………………… กรรมการ
(อาจารย์พกิจ สุวัตถิ์) (หมายถึงอาจารย์ที่สอบร่วม)
…………………………………… กรรมการ
(อาจารย์ทนง ธนพันธุ์พาณิชย์) (หมายถึงกรรมการสอบภายนอก)
…………………………………… คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์สราวุฏฐ์ วรสุมันต์)
(ปกในภาษาไทย)(ฟอนต์ Angsana UPC ขนาด 18 นิ้ว)
หัวข้อปริญญานิพนธ์ เครื่องตรวจสอบความปลอดภัยทางไฟฟ้าชนิดดิจิตอล
หน่วยกิตของปริญญานิพนธ์ 2 หน่วยกิต
โดย นายประพลเดช เจิมสันติกุลชัย 420120066
นายรณรงค์ สมานวงศ์ 420120061
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ไวยพจน์ ศุภบวรเสถียร
ระดับการศึกษา วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต / อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต
ภาควิชา วิศวกรรมไฟฟ้า
คณะ วิศวกรรมศาสตร์
ปีการศึกษา (เป็นปีที่นักศึกษาสอบปริญญานิพนธ์)
บทคัดย่อ
ปริญญานิพนธ์นี้เป็นการสร้างเครื่องมือ สำหรับทดสอบความปลอดภัยทางไฟฟ้า ชนิดดิจิตอล ( Digital Electrical Safety Tester ) เพื่อทดสอบการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้า ตรวจสอบคุณภาพของกราวนด์ นิวตรอน ความเชื่อมต่อของสายไฟ เครื่องมือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ได้ซึ่งทำให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ใช้
มาตรฐานที่ใช้คือมาตรฐาน IEC601 (International Electromechanical Commission) เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวกับความปลอดภัย เกี่ยวกับไฟฟ้าในหลาย ๆ ประเทศเป็นที่ยอมรับ และได้กำหนดการออกแบบเป็นมาตรฐานความปลอดภัยของเครื่องมือทางการแพทย์และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ไฟฟ้า
คำสำคัญ : ความปลอดภัย/กราวนด์/แอมมิเตอร์/รีจิสเตอร์/มิลลิแอมป์
อาจารย์ที่ปรึกษา .…………………………..
(อาจารย์ไวยพจน์ ศุภบวรเสถียร)
………./………./………..
(ปกในภาษาอังกฤษ) (ฟอนต์ Angsana NEW ขนาด 18 นิ้ว)
Project Title Digital – Electrical Safety Tester
Project Credit 2 Units
By Mr. Prapoldech Jernsantikulchai 420120066
Mr. Ronnarong Smanwong 420120061
Project’s Advisor Mr. Vaiyapot Supabavornsatian
Education of Degree Bachelor of Engineering / Industrial Engineering
Department Electrical Engineering
Faculty of Engineering
Academic Year (ปีที่นักศึกษาสอบปริญญานิพนธ์) พิมพ์เป็น ค.ศ.
Abstract
This thesis is about the invention of a digital device used for testing the electrical safety of an electronic instrument, To provide the electrical safety to users, this device is designed for examining the current leakage of both electric and electronic instruments, The quality of the ground, neutron and circuit connection can also be tested with this device,
This thesis used standard IEC 601 (International Electromechanical Commission) Which is accepted electric safety standard for medical and electrical instruments in several countries
Keywork : Safety/Ground/Ammeter/Register/Milli Amperes
Project’s Advisor: ……………………………..
(Mr. Vaiyapot Supabavornsatian) ……./………/……….
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น